วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

 สูตรขนมหวานไทย : ข้าวเหนียวมะม่วง



 สูตรขนมหวานไทย : ข้าวเหนียวมะม่วง

     เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* มะม่วงสุก 3 ลูก

* ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม

* หัวกะทิ 450 กรัม

* เกลือป่น 3/4 ช้อนชา

* น้ำตาลทราย 550 กรัม

* ใบเตย 3-5 ใบ

* ถั่วทอง 5 ช้อนโต๊ะ

* หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำราด)

* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา (สำหรับทำน้ำราด)

 วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำข้าวเหนียวไปล้างและแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำไปสะเด็ดน้ำ

2. นำผ้าขาวบางรองไว้ในซึ้งหรือหม้อนึ่ง แล้วจึงนำข้างเหนียววางลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปนึ่งจนข้าวเหนียวสุก

3. ในหม้อขนาดเล็ก ใส่น้ำตาล, เกลือป่น (3/4 ช้อนชา) และหัวกะทิ และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงใส่ใบเตยลงไป ทิ้งไว้สักพักจึงปิดไฟ

4. ในชามขนาดกลาง ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้จนสุกดีแล้วลงไป จากนั้นจึงใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ในขั้นตอนที่สามตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันทั่ว และทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที

5. ในระหว่างที่รอ เตรียมทำน้ำกะทิราดหน้าโดย ผสมหัวกะทิ (2 ถ้วยตวง) และเกลือป่น (1/4 ช้อนชา) ลงในหม้อขนาดเล็ก และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนเกลือละลายทั่ว จึงปิดไฟ

6. ปอกมะม่วงและจัดใส่จาน เวลาเสริฟ ตักข้าวเหนียวใส่จานจากนั้นโรยหน้าด้วยน้ำราดกะทิและถั่วทอง ควรเสริฟทันทีหลังจากปอกมะม่วงเสร็จใหม่ๆ




ขอขอบคุณเว็บ

http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_mango_with_sticky_rice_th.html

 สูตรขนมหวานไทย : วุ้นกะทิ


 สูตรขนมหวานไทย : วุ้นกะทิ

     เครื่องปรุง + ส่วนผสม

+ ส่วนผสมตัววุ้น +

* วุ้นผง 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำเปล่า 5 1/2 ถ้วยตวง

* น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง

* น้ำใบเตย,น้ำกาแฟ หรือสีผสมอาหาร (จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

+ ส่วนผสมหน้าวุ้น +

* วุ้นผง 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมะพร้าว 2 1/2 ถ้วยตวง

* น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง

* หัวกะทิ 2 1/2 ถ้วยตวง

* แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ


* เกลือ 1 1/2 ช้อนชา

* แม่พิมพ์สำหรับใส่วุ้น (ถ้วยหรือชามเล็กๆ ก็สามารถใช้แทนกันได้)

 วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ทำตัววุ้นโดย ใส่ผงวุ้นและน้ำเปล่า ลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไปต้มจนผงวุ้นละลาย (หมายเหตุ : สามารถใส่น้ำใบเตยเพื่อทำวุ้นกะทิใบเตยหรือ น้ำกาแฟเพื่อทำวุ้นกะทิกาแฟ หรืออาจใส่ สีผสมอาหารเพื่อให้ได้สีที่ต้องการสำหรับตัววุ้น)

2. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้ละลายดีจึงหรี่ไฟเบาลง

3. ตักส่วนผสมตัววุ้นลงไปในแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ โดยหยอดให้ได้ประมาณ 3/4 ของแบบ และปล่อยไว้ให้วุ้นจับตัวพอตึง

4. ระหว่างรอตัววุ้นแข็ง เตรียมทำหน้าวุ้นโดย ใส่ผงวุ้นและน้ำมะพร้าว ลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไปต้มจนผงวุ้นละลาย

5. จากนั้นจึงใส่แป้งข้าวโพด, หัวกะทิ (ประมาณ 1/2 ถ้วยตวง) และ เกลือลงไปในส่วนผสมหน้าวุ้น คนอย่างต่อเนื่องจน ส่วนผสมละลายเข้ากัน

6. ใส่หัวกะทิที่เหลือลงไป คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงนำส่วนผสมของหน้าวุ้นไปหยอดใส่พิมพ์ให้เต็มอย่างปราณีต (พิมพ์ต้องใส่ตัววุ้นก่อน และต้องรอจน ตัววุ้นแข็งพอตึงๆก่อน มิเช่นนั้นตัววุ้นและหน้าวุ้นจะผสมกัน)

7. เมื่อหน้าวุ้นและตัววุ้นแข็งดีแล้วก็ให้เคาะออกจากแบบ จัดใส่จานและเสริฟได้ทันที


ขอขอบคุณเว็บ

http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_coconut_jelly_th.html



















สูตรขนมหวานไทย : กล้วยบวดชี



    สูตรขนมหวานไทย : กล้วยบวดชี

     เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* กล้วยน้ำว้า 8 ลูก (เลือกห่ามๆ ไม่สุกมาก)

* หัวกะทิ 450 มิลลิลิตร

* หางกะทิ 500 มิลลิลิตร

* ใบเตย 2 ใบ

* น้ำตาลปี๊บ 40 กรัม

* น้ำตาลทรายขาว 40 กรัม

* เกลือ

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำกล้วยไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 3-5 นาที หรือนึ่งจนกระทั่งผิวกล้วยเริ่มแตกออก จึงปิดไฟและนำออกมาปอกเปลือกและหั่นครึ่งลูก จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

2. นำหางกะทิไปต้มในหม้อและใส่ใบเตยลงไปด้วย เมื่อเดือดแล้วจึงใส่กล้วยที่หั่นไว้แล้วลงไป ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ, น้ำตาลทรายขาวและเกลือนิดหน่อย

3. เมื่อกะทิเริ่มเดือดอีกครั้งจึงใส่หัวกะทิลงไป และปล่อยทิ้งไว้ให้เดือดอีกประมาณ 3 นาที ถ้าต้องการให้น้ำข้นเหนียวก็ให้ใส่แป้งมันลงไปประมาณ 1 ช้อนชาและคนให้ละลายทั่ว

4. อย่าต้มนานจนเกินไปเพราะจะทำให้กล้วยเละ กล้วยควรจะยังแข็งนิดหน่อย จากนั้นตักใส่จานและเสริฟทันที









ขอขอบคุณเว็บ

http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/banana_in_coconut_milk_th.html

ปีใหม่




วันปีใหม่

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี

          ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

          และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

          แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาวันปีใหม่ในประเทศไทย

          สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

          แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 (ร.ศ. 108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อ ๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา  อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่


          ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อ ๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ "วันตรุษสงกรานต์"




ทัศนศึกษา

 

ทัศนศึกษา

    ในการไปทัศนศึกษาครั้งนี้ พวกเราได้ไปทัศนศึกษากันที่พิพิธพันธ์วิทยาศาสตร์ และดรีมเวิร์ล โดยเราได้เดินทางจากตราดตั้งแต่เวลาตีสอง ไปถึงที่พิพิธพันธ์วิทยาศาสตร์ตอนเวลาประมาณแปดโมงเช้า เราได้เที่ยวชมพิพิธพันธ์วิทยาศาสตร์จนถึงเวลาประมาณสิบเอ็ดโมง จากนั้นเราจึงได้เดินทางต่อไปยังดรีมเวิร์ล และได้รับประทานอาหารกลางวันที่นั่นแล้วเราก็ไปดรีมเวิลด์กันแล้วเราก็ได้เล่นเครื่องเล่นสนุกกัน มันทำให้ฉันสนุกมาก

  


วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ขนมเม็ดขนุน



ขนมเม็ดขนุน

       เม็ดขนุน เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นหนึ่งในขนมตระกูลทอง มีสีเหลืองทอง มีความเชื่อกันว่า ขนมเม็ดขนุน เป็นขนมมงคล ซึ่งใช้ในพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานบุญ และงานแต่งงาน ช่วยสนับสนุนในด้านการดำเนินชีวิต การงาน หรือกิจกรรมที่ทำอยู่ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองและสำเร็จด้วยดี ทำมาจากถั่วเขียวเลาะเปลือกต้มสุกบดละเอียด แล้วนำมากวนและปั้นให้มีลักษณะคล้ายเม็ดขนุน ขนาดพอดีคำ ปัจจุบันสามารถหารับประทานได้ไม่ยากตามร้านค้าทั่วไป อย่างไรก็ตาม เราสามารถทำขนมเม็ดขนุนเองได้ ไม่ยากเลย

ส่วนผสมขนมเม็ดขนุน  
ถั่วเขียวเลาะเปลือก                                200 กรัม                   กะทิ                                                   250 มิลลิลิตร
น้ำตาลทรายสำหรับผสมถั่ว                      100 กรัม                   น้ำตาลทรายสำหรับทำน้ำเชื่อม                 300 กรัม
ไข่แดงเป็ด                                           3 ฟอง
น้ำลอยดอกมะลิ                                    1/2  ถ้วย


วิธีทำขนมเม็ดขนุน
1. แช่ถั่วเขียวเลาะเปลือกประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อให้ถั่วอ่อนตัว
2. ล้างถั่วให้สะอาดอีกครั้ง แล้วนำไปนึ่งประมาณ 30-40 นาที จนถั่วบานได้ที่
3. นำถั่วนึ่ง น้ำตาลทราย และน้ำกะทิ ใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า แล้วปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
4. นำส่วนผสมไปกวนรวมกันในกระทะทองเหลือง โดยใช้ไฟอ่อนๆ ค่อยกวนจนข้นและเหนียวพอปั้นได้ ประมาณ 30 นาที พักให้อุ่นเล็กน้อย
5. ปั้นเป็นรูปทรงรีขนาดเท่ากับเม็ดขนุน โดยกดแบนเล็กน้อย ผึ่งไว้ให้แห้งเล็กน้อย หรือจะนำไปอบควันเทียนนาน 5-8 นาทีก็ได้
6.ทำน้ำเชื่อม โดยนำน้ำตาลทรายและน้ำลอยดอกมะลิผสมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปเคี่ยวในกระทะทองเหลืองใช้ไฟอ่อนๆ จนน้ำเชื่อมเข้มข้น ไม่ใส ประมาณ 10-15 นาที
7. ตอกไข่เป็ด แล้วแยกเอาเฉพาะไข่แดง ค่อยๆคนให้เข้ากัน แต่อย่าให้เกิดฟอง
8. ใช้ไม้ปลายแหลมเสียบเม็ดขนุนชุบลงในไข่ให้ทั่ว แล้วนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมด้วยไฟอ่อนๆ โดยน้ำเชื่อมจะต้องนิ่งและไม่เดือด ไข่จะได้หุ้มเม็ดขนุนได้ดี ทำทีละลูกจนหมด
9. เพิ่มความแรงของไฟขึ้นอีกหน่อย เพื่อให้เม็ดขนุนสุกทั้งสองด้าน รอจนสุกทั้งสองด้าน
10. ตักขึ้นมาพักไว้วางในถาด รอให้เย็นแล้วจัดเสิร์ฟได้ทันที





ขอขอบคุณเว็บ

http://www.thaicookingrecipe.com/food/87/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99.html














ขนมลูกชุบ



ขนมลูกชุบ

       ลูกชุบ เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่งที่ทำมาจากถั่วเขียว ซึ่งบดจนละเอียดแล้วนำไปปั้นเป็นรูปทรงของผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น พริก มะยม มะม่วง มังคุด แล้วมาระบายแต้มสีสันให้สวยงามน่ารับประทาน จากนั้นนำไปชุบวุ้นเพื่อเคลือบให้เป็นมันวาว ปัจจุบันสามารถหาซื้อลูกชุบได้ตามตลาดทั่วไป อย่างไรก็ตาม เราสามารถทำขนมลูกชุบเองได้ เพราะการทำขนมลูกชุบนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าได้ลองทำดูแล้ว ใครๆก็ทำได้


ส่วนผสมขนมลูกชุบ

ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 100 กรัม
น้ำกะทิ 1 ถ้วยตวง
ผงวุ้น 1     ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า                                        2 ถ้วยตวง
เกลือป่น                                    1/2 ช้อนชา
สีผสมอาหาร





วิธีทำขนมลูกชุบ

1.  นำถั่วเขียวเลาะเปลือกล้างทำความสะอาด แล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นนำไปนึ่งให้สุกประมาณ 20 นาที

2.  นำถั่วเขียวนึ่ง กะทิ น้ำตาล และเกลือใส่เครื่องปั่น แล้วปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี

3.  เทส่วนผสมลงไปกวนในกะทะ ด้วยความร้อนปานกลาง กวนจนข้นและเหนียว โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น

4.  นวดส่วนผสมถั่วให้เข้ากันอีกครั้งจนเนื้อเนียน แล้วปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆ เช่น พริก มะม่วง มะระกอ แอปเปิ้ล ส้ม เป็นต้น

5.  นำถั่วปั้นที่เสร็จแล้ว เสียบไม้จิ้มฟันปักทิ้งไว้ โดยใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ ห่อคลุมไว้ด้วย

6.  ใช้สีผสมอาหาร ระบายสีลงบนถั่วปั้นให้สวยงามตามใจชอบ แล้วทิ้งไว้รอจนสีแห้งดี

7.  นำน้ำเปล่า ผงวุ้นและน้ำตาลประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ใส่่ลงในหม้อตั้งไฟอ่อน คนอย่างสม่ำเสมอ รอจนส่วนผสมเดือดและวุ้นละลายประมาณ 20 นาที แล้วหรี่ไฟอ่อนๆเพื่อไม่ให้วุ้นแข็ง

8.  นำถั่วปั้นที่ทาสีแล้ว ลงไปชุบน้ำวุ้น 1 ครั้ง แล้วรอให้แห้ง จากนั้นชุบอีก 2 ครั้ง ทิ้งไว้รอให้วุ้นเย็น

9.  ดึงลูกชุบออกจากไม้เสียบ นำมาเรียงใส่จาน แล้วตกแต่งให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟได้ทันที


ขอขอบคุณเว็บ

http://www.thaicookingrecipe.com/food/81/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%9A.html